วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เรารู้ว่าคุณรู้ว่าการสูบบุหรี่น่ะมันไม่ดี







สูบแล้วจะเป็นมะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง เสียบุคลิกภาพ และอะไรอื่นๆ อีกสารพัดสารพัน แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่าทำไมคุณถึงไม่เลิกสูบมันเสียทีล่ะบางทีคุณอาจจะคิดว่าคุณไม่อยากจะอยู่ดูโลกใบนี้นานนัก และไม่ต้องการมีสุขภาพดี - ถ้าอย่างนั้นก็ลองนึกถึงความสวยงามของร่างกายคุณสิ ว่ามันจะคงความสวยงามอยู่ได้ไหมถ้าคุณยังคงสูบบุหรี่อยู่อย่างนี้  




ถ้ายังนึกไม่ออกเรามี 10 ข้อที่จะช่วยคุณนึก 


1. พลาดโอกาสไปภูเก็ต
เพียงแค่คุณสูบบุหรี่สัปดาห์ละ 2 ซองครึ่ง ภายในเวลาไม่เกินสองปี คุณจะมีเงินซื้อตั๋วเครื่องบินไปเที่ยว ภูเก็ต พร้อมที่พัก และยังเหลือเงินสำหรับช้อปปิ้งอีกต่างหาก


2. เสลดพันคอ
ช่างเป็นภาพที่น่ารักมาก (หรือเปล่า)
เมื่อสาวสวยคนหนึ่งทำเสียงครืดคราดในลำคอ (ก่อนที่จะถ่มถุยออกมา)

3. ตัวเหม็น
นอกจากปากเหม็นแล้ว ตัวก็ยังเหม็นอีกต่างหาก
ที่ร้ายกว่านั้นคือคุณจะไม่ได้กลิ่นของตัวคุณเองหรอก

4. ฟันเหลือง
ฟันจะเหลืองขึ้นจนคุณต้องไปพบหมอฟันบ่อยขึ้น
หมอฟันน่ะเชื่อว่าคงไม่มีใครอยากไปพบสักเท่าไหร่หรอก





5. ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น
ไม่ว่าคุณจะแปรงฟันบ่อยแค่ไหน และคิดว่าสะอาดหมดจดแค่ไหน
มันก็ยังไม่เพียงพอที่จะกำจัดกลิ่นปากได้หรอก พาลหนุ่มๆ จะคิดว่า
คุณไปเลียที่เขี่ยบุหรี่ที่ไหนมาซะอีกนะเนี่ย

6. สิว
การสูบบุหรี่ทำให้รูขุมขนอุดตันและเกิดเป็นสิวขึ้น
ปกติสิวก็มาเยือนคุณทุกๆ เดือนอยู่แล้วนี่นา
คุณไม่ต้องคิดถึงมันจนต้องเชิญมันมาอยู่บนใบหน้าทุกวันหรอกน่า

7. เหี่ยวย่น
การสูบบุหรี่ทำให้ผิวคุณไม่ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
เนื้อเยื่อต่างๆ ไม่มีการฟื้นฟูสภาพ รอยย่นเหนือริมฝีปากและเหนือคิ้วเริ่มมาเยือนคุณขึ้นมาก่อนวัยอันควร
ไม่สวยแน่ถ้าหากลิปสติกสีสวยของคุณจะเลอะปากขึ้นไปตามรอยย่นๆ นั้น
หลับตานึกภาพคุณยายแก่ๆ เคี้ยวหมากปากเปรอะดูสิ ยังไงยังงั้นเลย

8. มีขนขึ้นครึ้มบนในหน้า
ผู้หญิงอะไรมีหนวด เครา!!
คุณเองก็คงไม่อยากเป็นนายจันทร์หนวดเขี้ยวใช่ไหมล่ะ

9. ร่างกายอ่อนแอ
เมื่อปอดของคุณไม่ได้สูดอากาศอย่างเต็มปอด
ได้แต่เพียงไอและไออย่างหนักหน่วงเท่านั้น และไม่ว่าคุณจะสูบบุหรี่จัดหรือไม่
ร่างกายคุณก็จะอ่อนปวกเปียก ป้อแป้ ยิ่งถ้าไม่ได้ออกกำลังกายด้วยแล้ว ก็ยิ่งแย่ไปกันใหญ่

10. น้ำหนักเพิ่มขึ้น
สาวๆ บางคนคิดจะลดน้ำหนักด้วยการสูบบุหรี่ ซึ่งมันก็ได้ผลจริงๆ ซะด้วย
แต่อย่าเพิ่งดีใจไป เพราะน้ำหนักตัวจะลดลงก็เพียงช่วงแรกเท่านั้น
ต่อจากนั้นไป สาว ๆ พวกนั้นจะสูญเสียการรับรู้รส และก็จะกินไม่เลือก
โดยเฉพาะไขมันล่ะก็เป็นที่โปรดปรานเชียวล่ะ ไม่เชื่อล่ะสิ
งั้นก็ลองนึกๆ ดูว่ามีผู้หญิงที่สูบบุหรี่สักกี่คนกันที่ไม่มีปัญหาเรื่องรูปร่าง 







ขอขอบคุณ..http://variety.teenee.com/index342.html
้่

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่


โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ 

การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการ เกิดโรค ต่างๆหลายชนิด ทำให้อัตราเสี่ยงของการเกิด โรคหัวใจสูงขึ้นเป็น ๒ เท่า อัตราเสี่ยงของการเกิดโรคถุงลมโป่งพองสูงขึ้นเป็น ๖ เท่า และอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอดสูงขึ้นเป็น ๑๐ เท่า การสูบบุหรี่ทำให้ผู้สูบอายุสั้นลงโดยเฉลี่ย ๕ - ๘ ปี ผู้สูบบุหรี่ที่เริ่ม สูบตั้งแต่วัยรุ่นและไม่หยุดสูบ ร้อยละ ๕๐ จะเสียชีวิตด้วยโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ และ ครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้จะเสียชีวิตในวัยกลางคนก่อนอายุ ๗๐ ปี
 
โรคต่างๆที่เกิดจากการสูบบุหรี่ แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้
 

ก. โรคมะเร็ง
 
ผู้สูบบุหรี่มีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งในอวัยวะต่างๆเพิ่มขึ้น มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ได้แก่ มะเร็งช่องปาก โพรงจมูก กล่องเสียง หลอดลม ปอด หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ตับอ่อน ตับ ไต กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก เต้านม ปากมดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก ทั้งนี้ ผู้ที่สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ด้วยจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร เพิ่มขึ้นอีก สาเหตุที่การสูบบุหรี่ทำให้เกิดโรคมะเร็งในอวัยวะหลายๆ แห่ง ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่สารก่อมะเร็งในควันบุหรี่สัมผัสกับอวัยวะโดยตรง เช่น กล่องเสียง และปอด หรือสารก่อมะเร็งถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด แล้วไหลเวียนไปตามอวัยวะต่างๆ เช่น ตับอ่อน และกระเพาะปัสสาวะ โดยในภาพรวม พบว่าประมาณร้อยละ ๓๐ ของมะเร็งที่เกิดในคนมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่
 

- มะเร็งปอด ร้อยละ ๙๐ ของมะเร็งปอด มีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ ในผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ที่เป็นมะเร็งปอดประมาณร้อยละ ๓๐ เป็นผลจากการที่ได้รับควันบุหรี่ที่ผู้อื่นสูบ มีการศึกษาพบว่า ผู้สูบบุหรี่จัดมีความเสี่ยง ต่อการเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบถึง ๕๐ เท่า เนื่องจากปอดเป็นอวัยวะที่รับควันบุหรี่มากที่สุด ความเสี่ยงต่อพิษภัยของควันบุหรี่ขึ้นอยู่กับปริมาณบุหรี่ที่สูบและวิธีการ สูดควันบุหรี่ การเกิดโรคมะเร็งปอดระยะแรกจะไม่มีอาการ เมื่อใดที่มีอาการแสดงว่าโรคเป็นมากแล้ว อาการที่พบคือ ไอเรื้อรัง เสมหะมีเลือดปน น้ำหนักลด อ่อนเพลีย มีไข้เล็กน้อย เจ็บหน้าอก ซึ่งเป็นอาการร่วม ของโรคต่างๆได้หลายชนิด จึงมักทำให้ผู้ป่วย มาหาแพทย์ช้า และการวินิจฉัยโรค
ล่าช้า
 

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งปอดในระยะที่เป็นมากแล้ว จะมีอาการไอเป็นเลือด น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว ปวดกระดูกซี่โครงและไหปลาร้าหรือสะบ้า อาจมีอาการหอบเหนื่อย บวมบริเวณหน้า คอ แขน และอกส่วนบน ปวดศีรษะ ซึม กลืนอาหารลำบาก ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะและอุจจาระได้
 
โดยเฉลี่ยผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งปอดจะมีชีวิตอยู่ได้หลัง จากเริ่มมีอาการเป็นเวลาประมาณ ๖ เดือน โดยร้อยละ ๘๐ จะเสียชีวิตภายใน ๑ ปี และถึงแม้จะให้การรักษาอย่างดี ก็มีอัตราการรอดชีวิตเพียงร้อยละ ๒ - ๕ เท่านั้น
 






ข. โรคหัวใจและหลอดเลือด
 

- โรคหัวใจ
 

ขณะนี้โรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิต อันดับหนึ่งของคนไทย โดยส่วนใหญ่เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุที่สำคัญ ผู้สูบบุหรี่มีโอกาสหัวใจวายตายในอายุ ๓๐ - ๔๐ ปี สูงกว่าผู้ไม่สูบถึง ๕ เท่า สารพิษในควันบุหรี่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดทั่วร่างกาย โดยที่รูหลอดเลือดค่อยๆตีบลงจากการหนาตัวของผนังหลอดเลือด จนเกิดการตีบตันของเส้นเลือด เป็นเหตุให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้น้อยลง จึงเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบหรือโรคหัวใจขาดเลือดได้
 
เมื่อหลอดเลือดตีบจนมีผลให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงหัวใจได้ จะเกิดอาการจุกเสียด เจ็บหน้าอก โดยเฉพาะเวลาออกกำลังและถึงขั้นหัวใจวายได้ในที่สุด
 

- โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
 

สาเหตุที่สมรรถภาพทางเพศเสื่อม เกิดจากเส้นเลือดและเส้นประสาทที่ควบคุมการแข็งตัวของอวัยวะเพศชายเสื่อม ซึ่งควันบุหรี่ มีสารที่ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง การทำงานจึงเสื่อมลง นอกจากนี้ ยังพบตัวอสุจิในผู้สูบบุหรี่มีการเคลื่อนไหวผิดปกติมากกว่า ในผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ รวมทั้งจำนวนอสุจิลดลงด้วย ในขณะเดียวกันการเจ็บป่วยอื่นๆของผู้ที่สูบบุหรี่ก็ทำให้เสื่อมสมรรถภาพทาง เพศได้ เพราะโรคที่เกิดล้วนเป็นโรคเรื้อรังทำให้ เหนื่อยหอบรักษาไม่หาย เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคมะเร็งของ อวัยวะต่างๆ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีความกังวล กับโรคที่เป็น และมีผู้ป่วยหลายรายที่เกิดอาการหอบขณะมีเพศสัมพันธ์ ทำให้เกิดความกลัว ไม่กล้าที่จะมีเพศสัมพันธ์อีก
 

- โรคหลอดเลือดในสมองตีบ
 

การเสื่อมของหลอดเลือดในสมอง มีกลไกในการเกิดเหมือนกับที่เกิดกับเส้นเลือด หัวใจและอวัยวะอื่นของร่างกาย ผู้ป่วยอาจเป็นอัมพาตจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง หรือมีความจำเสื่อมลง
 






ค. โรคระบบทางเดินหายใจ
 

ควันบุหรี่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจอย่าง มาก และทำให้เนื้อปอดเสื่อมสมรรถภาพลง เมื่อมีการสะสม ของควันบุหรี่ในปอดอย่างต่อเนื่อง โรคที่พบ คือ ถุงลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง หลอดลมอักเสบเรื้อรัง เป็นหวัดและหลอดลมอักเสบง่าย และโรคทางเดินหายใจอื่นๆ
 

- โรคถุงลมโป่งพอง
 

โรคถุงลมโป่งพองเป็นโรคที่เนื้อปอดค่อยๆเสื่อมสมรรถภาพจาก การได้รับควันบุหรี่ ตามปกติแล้วพื้นที่ในปอดจะมีถุงลมเล็กๆกระจายอยู่เต็มทั่วปอด เพื่อทำหน้าที่รับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย สารไนโตรเจนไดออกไซด์ในควันบุหรี่จะทำลายเนื้อเยื่อในปอดและในถุงลมให้ฉีก ขาดทีละน้อยๆ และ รวมตัวกลายเป็นถุงลมที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เกิดโรคถุงลมโป่งพอง มีผลทำให้พื้นที่ผิวเนื้อเยื่อภายในปอด ซึ่งเป็นที่รับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายมีขนาดเล็กลง จึงต้องหายใจเร็วขึ้น เพื่อให้ออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายเพียงพอ โรคถุงลมโป่งพองนี้ในระยะท้ายๆของโรคจะทำให้ผู้ป่วยทรมานมาก เนื่องจากเหนื่อยจนทำอะไรไม่ได้ ต้องนอนอยู่กับที่ และอาจ ต้องได้รับออกซิเจนจากถังตลอดเวลา จากรายงานการศึกษาพบว่า ร้อยละ ๗๐ ของผู้ป่วยที่อาการอยู่ในระยะสุดท้ายจะ เสียชีวิตภายใน ๑๐ ปี โดยมีอาการเหนื่อยหอบตลอดเวลาจนกว่าจะเสียชีวิต
 

ง. โรคอื่นๆ
 

มารดาที่สูบบุหรี่มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ จากผลของควันบุหรี่ที่มีต่อรก เช่น คลอดก่อนกำหนด แท้งง่าย และมีบุตรยาก รวมทั้งยังทำให้ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย อัตราตายทารกแรกเกิดสูง และภาวะเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันของทารกเกิดได้มาก นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ยังทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ง่ายอีกด้วย เนื่องจากสารเคมีในควันบุหรี่กระตุ้นกระเพาะอาหารให้มีการหลั่งน้ำย่อยออกมา มากกว่าปกติ
 


ผลกระทบของการสูบบุหรี่ต่อสุขภาพของคนข้างเคียง 

ควันบุหรี่สามารถก่อให้เกิดผลกระทบ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ แต่ได้รับควันบุหรี่ได้ ดังนี้
 

ก. ผลกระทบระยะสั้น
 

- เกิดการระคายเคืองต่อจมูก ตา คอ ปวดศีรษะ ไอ คลื่นไส้ เกิดความรู้สึกไม่สบาย
 
- ทำให้มีอาการกำเริบมากขึ้นในผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด และโรคปอดเรื้อรังอื่นๆ โดยจะมีอาการหายใจติดขัดหรือ ถึงขั้นเหนื่อยหอบ
 
- ในผู้ได้รับควันบุหรี่ที่เป็นโรคหัวใจ จะทำให้เกิดอาการเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอมากขึ้น เกิดอาการจุกเสียดหน้าอกได้
 

ข. ผลกระทบระยะยาว
 

- ในห้องที่อากาศไม่ถ่ายเท การสูบบุหรี่ทุกๆ ๒๐ มวน จะทำให้ผู้ไม่สูบบุหรี่ต้องหายใจเอาควันบุหรี่เข้าไปเป็นปริมาณเท่า กับการสูบบุหรี่ ๑ มวน
 
- ผู้ไม่สูบบุหรี่ที่อยู่ในห้องทำงานที่มี ควันบุหรี่ประมาณครึ่งชั่วโมง จะมีปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือดเท่ากับคนที่สูบ บุหรี่เอง ๑ มวน
 
- ผู้ไม่สูบบุหรี่ที่ต้องอยู่ในห้องทำงาน หรือในสถานที่แออัดที่มีควันบุหรี่เป็นเวลานาน จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นจากคนทั่วไปเฉลี่ยร้อยละ
 
๑๐ - ๓๐
 
- ในหญิงมีครรภ์และทารก ทำให้เกิดความเสี่ยงที่ทารกแรกคลอดจะมีน้ำหนัก ตัวต่ำกว่าปกติ ทารกมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตระหว่างคลอด หรือเกิดความพิการแต่กำเนิดเพิ่มขึ้น และมีความเสี่ยงของอาการเกิดโรคไหลตายในเด็กสูงขึ้น เช่นเดียว กับที่มารดาสูบบุหรี่เอง
 
- ในเด็กเล็ก ทำให้เกิดความเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อของทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบและปอดบวมบ่อยกว่าเด็กทั่วไป และมีอัตราการเกิดโรคหืดเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดการติดเชื้อของหูส่วนกลางง่าย และในระยะยาว เด็กที่ได้รับควันบุหรี่ พัฒนาการของปอดจะน้อยกว่า และพัฒนาการทางสมองจะช้ากว่าเด็กที่ไม่ได้รับควันบุหรี่
 
- ในผู้ใหญ่ จากการศึกษาทางการแพทย์ พบว่า การได้รับควันบุหรี่ที่ผู้อื่นสูบ ทำให้เกิดโรคมะเร็งในปอดได้ ผู้หญิงที่ได้รับควันบุหรี่วันละ ๓ ชั่วโมงขึ้นไป จะมี อัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งที่ลำคอมากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับควันบุหรี่ ๓ เท่า และมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งในส่วนอื่นๆมากกว่าคน ปกติ ๒ เท่า ผู้ที่ได้รับควันบุหรี่จะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือดสูงกว่าคนทั่วๆไป ผู้หญิงที่สามีสูบบุหรี่มีความเสี่ยงที่จะมีอาการ หัวใจขาดเลือดสูงกว่าผู้หญิงที่สามีไม่สูบบุหรี่ ๓ - ๔ เท่า และจะตายเร็วกว่าผู้หญิงที่สามีไม่สูบบุหรี่โดยเฉลี่ย ๔ ปี
 


สาร ต่างๆซึ่งมีอยู่ในบุหรี่และในควันบุหรี่ที่กล่าวมาแล้ว เมื่อผู้สูบบุหรี่สูดเข้าสู่ร่างกายพร้อมๆกัน จะก่อให้เกิดพิษที่ทำอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งผลกระทบต่อร่างกาย ทำให้เกิดอาการดังนี้ 

ก. ผลกระทบระยะสั้น
 

- ประสาทสัมผัสของการรับรู้กลิ่นและรส จะทำหน้าที่ได้ลดลง
 
- แสบตา น้ำตาไหล
 
- ขนอ่อนที่ทำหน้าที่พัดโบก เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมภายในหลอดลมเป็นอัมพาต หรือทำงานได้ช้าลง
 
- ระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในปอดและในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น
 
- หัวใจเต้นเร็วขึ้น และความดันโลหิต สูงขึ้น
 
- มีกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น
 
- เกิดกลิ่นที่น่ารังเกียจตามร่างกายและ เสื้อผ้า
 
- ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น และมีกลิ่นปาก
 

ข. ผลกระทบระยะยาว เป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ ได้แก่
 

- โรคมะเร็งปอดและมะเร็งในส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น กล่องเสียง ลำคอ หลอดอาหาร และกระเพาะปัสสาวะ
 
- โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และโรคหัวใจขาดเลือด มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการ หัวใจวาย
 
- โรคหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดส่วนอื่นๆตีบตัน และหลอดเลือดใหญ่ทรวงอกและช่องท้องโป่งพอง
 
- โรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดลม อักเสบเรื้อรัง
 
- ทำให้สมรรถภาพทางเพศเสื่อมจากการอุดตันของเส้นเลือดขนาดเล็ก ที่ไปเลี้ยงประสาทที่เกี่ยวกับการควบคุมการแข็งตัวของ อวัยวะเพศ
 
- เกิดอาการเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงแขนและขาตีบตัน อาจต้องตัดแขนหรือขาทิ้ง

มะนาวช่วยเลิกบุหรี่


มะนาวช่วยเลิกบุหรี่ ผลทดลองพิสูจน์ชัด 



นางกรองจิต วาทีสาธกกิจ ที่ปรึกษามูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวในการประชุมวิชาการ "บุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ" ครั้งที่ 7 เรื่อง "เยาวชนรุ่นใหม่ ร่วมใจ ต้านภัยบุหรี่" ว่า ผลการวิจัยพบว่าในวิตามินซีจะมีสารที่ช่วยลดความอยากของนิโคตินได้ และช่วยฟื้นฟูร่างกายที่ทรุดโทรมให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่า 
จึงมีการนำใช้เพื่อช่วยเลิกบุหรี่ โดยเทคนิคการรับประทานผลไม้รสเปรี้ยวที่มีวิตามินซีสูง โดยเฉพาะมะนาวพบว่าเมื่อนำไปใช้แล้วมีประสิทธิภาพได้ผลดีมาก เพราะมะนาวมีผลต่อการทำงานของต่อมรับรสขม ทำให้รสชาติของบุหรี่เปลี่ยนไป
นางกรองจิต วาทีสาธกกิจ ที่ปรึกษามูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวในการประชุมวิชาการ "บุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ" ครั้งที่ 7 เรื่อง "เยาวชนรุ่นใหม่ ร่วมใจ ต้านภัยบุหรี่" ว่า ผลการวิจัยพบว่าในวิตามินซีจะมีสารที่ช่วยลดความอยากของนิโคตินได้ และช่วยฟื้นฟูร่างกายที่ทรุดโทรมให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่า 



นางกรองจิตกล่าวว่า วิธีการกินมะนาวช่วยเลิกบุหรี่ ต้องหั่นมะนาวเป็นชิ้นเล็กๆ ให้มีเปลือกติดมาด้วย ขนาดเท่าหัวแม่โป้ง เมื่อมีความรู้สึกอยากสูบบุหรี่ ให้กินมะนาวแทน โดยอมแล้วค่อยดูดความเปรี้ยว จากนั้นเคี้ยวเปลือกอย่างช้าๆ นาน 3-5 นาที จะมีผลทำให้ลิ้นขมและรู้สึกเฝื่อน จากนั้นดื่มน้ำ 1 อึก ซึ่งนอกจากช่วยลดความอยากนิโคตินแล้ว เมื่อสูบบุหรี่จะทำให้รสชาติบุหรี่เปลี่ยนเป็นขมจนไม่อยากสูบ และสามารถกินมะนาว หรือผลไม้ชนิดอื่นที่มีความเปรี้ยวมากๆ ได้ทุกครั้งที่เกิดความอยากบุหรี่ 

"การกินมะนาวสามารถเลิกบุหรี่ได้ภายใน 2 สัปดาห์ และไม่อยากบุหรี่อีก ถือว่าชนะนิโคตินได้ มีการนำไปทดลองกับนักเรียน หลายคนที่ได้ทดลองวิธีนี้ เขารู้สึกว่าสูบบุหรี่แล้วไม่อร่อย รสชาติไม่เหมือนเดิม" นางกรองจิตกล่าว 



นางอนงค์ พัวตระกูล อาจารย์โรงเรียนบางมดวิทยา "สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์" ซึ่งได้รับรางวัลควบคุมยาสูบแห่งชาติ ประเภทสถานศึกษาปลอดบุหรี่ กล่าวว่า จากการทำค่ายลดละเลิกบุหรี่ โดยนำนักเรียนที่สูบบุหรี่จำนวน 75 คน มาทำกิจกรรม 3-7 วัน และใช้วิธีการเคี้ยวมะนาวพบว่า ร้อยละ 75 จะสูบครั้งคราว 



เมื่อผ่าน 2 สัปดาห์ มีเด็กที่เลิกสูบเด็ดขาด ร้อยละ 50 และภายใน 1 ปี มีเด็กเพียงร้อยละ 30 ที่กลับไปสูบอีก โดยปัจจัยเสริมที่ทำให้เลิกได้พบว่า หากเป็นเด็กที่มี
ความเชื่อมั่นในตัวเองสูงก็จะเลิกง่ายกว่าเด็กที่หัวอ่อนตามเพื่อน